เตือนพายุเวียดนาม ส่งผลปริมาณน้ำใต้เขื่อนสูงขึ้น เปิดรายชื่อจังหวัด ท่วมแน่ เฝ้าระวังใกล้ชิด

วันที่ 10 ตุลาคม 2567 รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ผอ.แผนงานวิจัยขับเคลื่อนแนวทางการใช้ประโยชน์ ด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งช...




วันที่ 10 ตุลาคม 2567 รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ผอ.แผนงานวิจัยขับเคลื่อนแนวทางการใช้ประโยชน์ ด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและยวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำทุกภาคเริ่ม


ลดลง แต่จะไปเพิ่มที่บริเวณภาคใต้ และคาดว่าจะมีโอกาสพายุเข้าประเทศเวียดนาม ช่วงระหว่างวันที่ 13-14 ต.ค. 2567 ประเทศไทยจึงต้องติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะบริเวณใต้เขื่อน ตั้งแต่พิษณุโลกลงมาที่จะทำให้มีปริมาณน้ำเข้าไปเติมอีก
ซึ่งที่ผ่านมามีพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ไม่รวมภาคเหนือตอนบน) ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครอบคลุม 14 จังหวัด รวม 1,412,212 ไร่ โดยจังหวัดที่เสียหายเกิน 2 แสนไร่ คือ พิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก และนครสวรรค์ ตามลำดับ
รศ.ดร.สุจริต กล่าวว่า ผลการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ฝนคาดการณ์ การบริหารเขื่อนและสภาพน้ำท่าท้ายเขื่อนของทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน พบว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำเก็บกักในเขื่อนหลัก ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำร้อยละ 70 เขื่อนสิริกิติ์ร้อยละ 94 เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนร้อยละ 79 และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ร้อยละ 93 โดยปริมาณน้ำท่าปัจจุบันที่สถานีตรวจวัดสูงสุดอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ 2,334 ลบ.ม./วินาที
ทั้งนี้แนวโน้มน้ำท่าสูงสุดในอีก 10 วันข้างหน้า จนถึงวันที่ 21 ต.ค. 2567 ปริมาณน้ำท่าที่จังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก อุทัยธานี และนครสวรรค์ จะลดลง แต่ พระนครศรีอยุธยาจะเพิ่มจาก 1,990 ลบ.ม./วินาที เป็น 2,128 ลบ.ม./วินาที “จึงสรุปได้ว่า ระดับน้ำจะสูงขึ้นตั้งแต่ ใต้จังหวัดชัยนาท และใต้พระนครศรีอยุธยา ลงมาในบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ ส่งผลให้น้ำท่วมพื้นที่ริมตลิ่งและมีโอกาสล้นคันกั้นน้ำได้ สำหรับปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ตอนบนทั้งแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านมีแนวโน้มลดลง”

You Might Also Like

0 comments