siamthai1
พายุลูกแรกของปี ที่เคลื่อนเข้าไทยโดยตรง จับตา พายุซูลิก ทวีความรุนแรงจากพายุดีเปรสชันเป็น พายุโซนร้อน แล้ว
September 19, 2024
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุโซนริ้นซูลิก ณ ศูนย์บัญชาการกองพยากรณ์อากาศ ชั้น 11 อาคาร 50 กรมอุตุนิยมวิทยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า การเปิดศูนย์วันนี้เพื่อติดตามเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนภัยสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิก ที่จะเคลื่อนเข้าประเทศไทยในวันที่ 19 – 20 กันยายนนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศไทย ทั้งภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานตอนบน ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก(ฝั่งทะเลอันดามัน) สำหรับพื้นที่ภาคอีสาน 2 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่สีแดง ต้องเจอกับพายุเป็นพื้นที่แรก คือจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร จึงอยากแจ้งเตือนให้ประชาชนระมัดระวังฝน
ตกหนัก ในจังหวัดต่างๆที่ได้รับอิทธิพลของพายุ จะมีฝนตกหนักมากกว่าประมาณ 90-100 มิลลิเมตร
สำหรับการประสานงานช่วยเหลือประชาชนนั้น ขณะนี้รัฐบาลใช้อำนาจการสั่งการผ่านศูนย์ป้องกันอุทกภัย วาตภัย และดินโคลินถล่ม โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน การสั่งการช่วยเหลือประชาชน จะใช้ศูนย์นี้เป็นศูนย์สั่งการ ขณะนี้สั่งเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเตรียมความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง
ในส่วนของกรมอุตุฯนอกจากจะมีการตั้งศูนย์เตือนภัยพายุโซนร้อนแล้ว กรมอุตุฯยังทำงานร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน เพื่อรวบรวมข้อมูลแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนในทุกด้าน ทั้งด้านการเตือนภัยและการเยียวยาประชาชนอย่างรวดเร็วและทันถ่วงที
ด้านนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พายุซูลิก ทวีความรุนแรงจากพายุดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อนแล้ว ขณะนี้ศูนย์กลางพายุอยู่บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม และจะเคลื่อนมาทางตอนกลางของเวียดนาม ทำให้จะเริ่มมีกลุ่มเมฆล้ำเข้ามาในพื้นที่ของภาคอีสานของไทยแล้วบางส่วน
คาดว่าพายุจะขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามในช่วง 19.00 – 20.00 น.ของวันนี้ เมื่อขึ้นฝั่งคาดว่าพายุจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน จากนั้นแนวโน้มของพายุจะเคลื่อนตัวไปทางภาคอีสานตอนบนของไทย บริเวณจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร หากพายุยังคงความแรงเป็นพายุดีเปรสชัน จะทำให้พายุซูลิก เป็นพายุลูกแรกของปีนี้ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง จากนั้นพายุดีเปรสชันจะค่อยๆสลายกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
แต่ก็จะให้มีฝนตกแช่ ตกซ้ำๆในพื้นที่อีสานตอนบน และพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และจะมีการดึงลมเพื่อไปเลี้ยงพายุ จะทำให้มีกลุ่มเมฆฝนในพื้นที่ภาคกลาง อย่าง กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก เช่น ภูเก็ต ตรัง สตูล ระนอง ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับภาคตะวันออก อย่างจังหวัดจันทบุรี ตราด ก็มีโอกาสเจอฝนตกหนักเช่นกัน รวมถึงจะมีลมแรงด้วย
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดอีกอย่างหนึ่ง คือฝนที่ตกบริเวณเขาและเทือกเขา ต้องระมัดระวังน้ำป่าไหลหลากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา
สำหรับปริมาณฝนที่ตกลงมา จากอิทธิพลของพายุนั้นจะทำให้อีสานมีฝนตกหนักถึงหนักมาก รวมถึงภาคเหนือและภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งบางพื้นที่อาจจะมีฝนตกหนักมากถึง 300 – 400 มิลลิเมตร เทียบเท่ากับปริมาณที่ตกหนักในจังหวัดเชียงรายที่ผ่านมา
ในส่วนของกรมอุตุฯนอกจากจะมีการตั้งศูนย์เตือนภัยพายุโซนร้อนแล้ว กรมอุตุฯยังทำงานร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน เพื่อรวบรวมข้อมูลแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนในทุกด้าน ทั้งด้านการเตือนภัยและการเยียวยาประชาชนอย่างรวดเร็วและทันถ่วงที
ด้านนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พายุซูลิก ทวีความรุนแรงจากพายุดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อนแล้ว ขณะนี้ศูนย์กลางพายุอยู่บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม และจะเคลื่อนมาทางตอนกลางของเวียดนาม ทำให้จะเริ่มมีกลุ่มเมฆล้ำเข้ามาในพื้นที่ของภาคอีสานของไทยแล้วบางส่วน
คาดว่าพายุจะขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามในช่วง 19.00 – 20.00 น.ของวันนี้ เมื่อขึ้นฝั่งคาดว่าพายุจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน จากนั้นแนวโน้มของพายุจะเคลื่อนตัวไปทางภาคอีสานตอนบนของไทย บริเวณจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร หากพายุยังคงความแรงเป็นพายุดีเปรสชัน จะทำให้พายุซูลิก เป็นพายุลูกแรกของปีนี้ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง จากนั้นพายุดีเปรสชันจะค่อยๆสลายกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
แต่ก็จะให้มีฝนตกแช่ ตกซ้ำๆในพื้นที่อีสานตอนบน และพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และจะมีการดึงลมเพื่อไปเลี้ยงพายุ จะทำให้มีกลุ่มเมฆฝนในพื้นที่ภาคกลาง อย่าง กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก เช่น ภูเก็ต ตรัง สตูล ระนอง ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับภาคตะวันออก อย่างจังหวัดจันทบุรี ตราด ก็มีโอกาสเจอฝนตกหนักเช่นกัน รวมถึงจะมีลมแรงด้วย
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดอีกอย่างหนึ่ง คือฝนที่ตกบริเวณเขาและเทือกเขา ต้องระมัดระวังน้ำป่าไหลหลากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา
สำหรับปริมาณฝนที่ตกลงมา จากอิทธิพลของพายุนั้นจะทำให้อีสานมีฝนตกหนักถึงหนักมาก รวมถึงภาคเหนือและภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งบางพื้นที่อาจจะมีฝนตกหนักมากถึง 300 – 400 มิลลิเมตร เทียบเท่ากับปริมาณที่ตกหนักในจังหวัดเชียงรายที่ผ่านมา
0 comments